16 Jan
🛺Station 2 : นักทัศนมาตรสำคัญอย่างไร ?

🕐 ย้อนกลับไปในปี 1999  องค์การอนามัยโลก ( WHO) ได้รายงานถึงสาเหตุที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเกิดภาวะตาบอด* ( Blindness) และภาวะสายตาพิการ* ( Visual impairment) ที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้
😱 โดยพบว่า ค่าสายตาผิดปกติ ( Refractive error) ติด 1 ใน 4 อันดับแรกเลยทีเดียว และมากกว่า 50% ไม่ได้รับการแก้ไขค่าสายตา
🥺 รายงานล่าสุดปี 2021 พบว่า ค่าสายตาผิดปกติ และต้อกระจก กลายเป็น 2 สาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเกิดภาวะตาบอดและภาวะสายตาพิการไปแล้วค่ะ

** ภาวะสายตาพิการ ( Visual impairment) หมายถึง มีความผิดปกติทางตาทำให้การมองเห็นแย่ลง
** ภาวะตาบอด ( Blindness) หมายถึง มีความผิดปกติทางตาทำให้การมองเห็นแย่ลงจนถึงมองไม่เห็นเลยหรือมีลานสายตาแคบลงมาก

💭 พี่ๆทุกคนลองนึกภาพตอนที่เราไม่ได้ใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ ดูสิคะ โลกทั้งใบมัวขึ้นมาในทันที มองก็ไม่ค่อยชัด จะเดินไปไหนหรือทำอะไรก็ลำบาก น่าปวดหัวจริงๆ 
😵‍💫 สิ่งที่น่ากลัวคือ อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่มีค่าสายตา ไม่ว่าจะเพศไหน หรือ อายุเท่าไหร่ก็ตาม
👶 สำหรับเด็กน้อยที่การมองเห็นไม่ดี จะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว, ภาษา , สติปัญญา,  อารมณ์และสังคม หรือการช่วยเหลือตนเอง เป็นต้น
🧒 เมื่อเด็กโตขึ้นเข้าสู่วัยเรียน เด็กจะพยายามหลีกเลี่ยงการอ่านหรือเขียนหนังสือ ทำให้เรียนหนังสือได้ไม่ดี ตามเพื่อนไม่ทัน และไม่อยากเรียนในที่สุด
👨 สำหรับผู้ใหญ่ มักมีผลต่อคุณภาพชีวิตและหน้าที่การงาน ประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงานลดลง อัตราการจ้างงานต่ำ คนว่างงานมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คนเป็นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลมีสูงขึ้น รวมถึงเกิดอุบัติเหตุต่างๆได้ง่าย เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน
👴 ในผู้สูงอายุ  ค่อนข้างเดินได้ลำบาก เสี่ยงต่อการหกล้มหรือกระดูกหักได้ง่าย ทำให้บางครั้งต้องแยกตัวออกจากสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

😯 ไม่น่าเชื่อเลยว่า แค่การไม่แก้ไขค่าสายตาจะส่งผลต่อทุกคนได้มากมายขนาดนี้ แต่ในขณะเดียวกันค่าสายตาที่ผิดปกติสามารถตรวจวินิจฉัย วัด และแก้ไขได้ง่ายๆ เช่น การใส่แว่นสายตาเป็นต้น 
🤔 คำถามต่อมาก็คือ ถ้าเรามีค่าสายตา ก็แค่ไปวัดหาค่าและตัดแว่นสายตาใส่… แค่นั้นจริง??
👁 บางครั้งคนเราทำให้เรื่องของการตรวจวินิจฉัย วัดสายตา และแก้ไขมันดูง่ายเกินไปหรือเปล่า ? 
ตามพวกเรามาดูกัน.!!!

😤 กี่ครั้งแล้วนะ ที่ตัดแว่นมากี่อันมันก็ไม่เวิร์คซักที

🙋‍♀️ มีพี่ๆคนไหนเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้างไหม? ใส่แว่นแล้วปวดตา, ไม่สบายตา, รู้สึกตาล้า  หรือไม่ก็เวียนหัว เห็นภาพแปลกๆ  บางทีใส่แล้วมองเห็นแย่ลงกว่าเดิมด้วยซ้ำ
👓 ในความเป็นจริงเป็นเรื่องปกติที่เราอาจจะรู้สึกไม่ชินหรือต้องปรับตัวกับแว่นสายตาอันใหม่ แต่ถ้าพยายามปรับตัวตามที่เขาแนะนำแล้ว แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นเลย สุดท้ายแว่นตาอันน้อยๆของเราก็ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยวเดียวดายโดยที่เราไม่คิดจะหยิบมันมาใส่อีก ...

📌 เราทุกคนล้วนแตกต่างกัน บางคนยังเป็นเด็ก ส่วนบางคนก็มีอายุแล้ว แน่นอนว่าปัญหาสายตาและความสามารถในการมองเห็นก็ย่อมแตกต่างกัน
🔹️ ยกตัวอย่างเช่น เด็กจะมีกำลังในการเพ่ง ( accommodation) มากกว่าผู้ใหญ่ เวลาวัดค่าสายตาออกมา อาจได้ค่าสายตาที่มากเกินจริง (over-minus/under-plus) หากผู้ตรวจใช้วิธีการตรวจวัดที่ไม่เหมาะสมกับช่วงอายุ 
📌 หรือแม้แต่คนที่อายุเท่ากันมีปัญหาสายตาเหมือนกัน วิธีการแก้ไขยังแตกต่างกันเลย
📌  ไม่ว่าน้องแว่นตาอันนั้นจะได้มาฟรี หรือต้องเสียเงินราคาแพง ก็ไร้ประโยชน์ทั้งนั้น ถ้าใช้งานไม่ได้จริงและถูกจ่ายในทางที่ผิดจากผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ 
🤔 และสิ่งที่สำคัญคือ เรามั่นใจได้อย่างไรว่าปัญหาการมองเห็นที่เกิดขึ้น มาจากค่าสายตาจริงๆ ไม่ได้มีความผิดปกติอย่างอื่นซ่อนอยู่ ???

วันนี้พี่โอดีและน้องโอเอส มีเคสตัวอย่าง 3 เคสจะพาทุกคนไปดูกันค่ะ 👩‍🦱👩👩
อยากให้พี่ๆทุกคนตั้งใจอ่านกับทุกๆเคสนะคะ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้นกับพวกเราหรือคนใกล้ตัวก็ได้ค่ะ
ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย 👉

👩‍🦱 เคส 1 นางสาว A อายุ 54 ปี
👁 มาพบจักษุแพทย์ด้วยอาการ ตาขวาเห็นภาพมัวกว่าตาซ้าย เห็นความสว่างลดลง แต่ยังมองเห็นอยู่ และมีการมองเห็นสีเพี้ยนไป
 ✅️ โรคประจำตัวเป็น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง และ ไขมันในเลือดสูง 
🔹️ จักษุแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น ต้อกระจก และแนะนำให้ตัดแว่นสายตา 
🔹️ หลังจากตัดแว่นสายตาได้ไม่นาน เขารู้สึกว่าตาขวายิ่งเห็นภาพมัวมากขึ้น เห็นมืดลงจนแทบมองไม่เห็นดวงไฟ 
🔹️ จึงได้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แพทย์ได้ส่งต่อให้พบจักษุแพทย์ด้านประสาทวิทยา
📋📌  ผลการตรวจวินิจฉัยพบว่า เขามีความผิดปกติที่เส้นประสาทตา จึงได้รีบให้การรักษาโดยทันที 

👩 เคส 2 นางสาว B อายุ 24 ปี 
👁 มาพบนักทัศนมาตรด้วยอาการ มองเห็นไม่ชัด 
✅️ มีประวัติกำลังตั้งครรภ์ 
✅️ มีประวัติใส่คอนเทคเลนส์มาตลอด โดยซื้อคอนเเทคเลนส์ตามร้านทั่วๆไป เนื่องจากต้องทำงาน และเคยใส่แว่นมาก่อนแต่รู้สึกไม่สบายตา จึงไม่ได้ใส่อีกเลย 
🔹️ ตรวจวัดสายตาพบว่ามีสายตาสั้น 200 ทั้ง 2 ตา (-2.00D)  
🔹️ ตรวจสุขภาพตา (Ocular health) พบว่า มีภาวะตาแห้ง (dry eye), เป็นแผลที่กระจกตา (corneal ulcer) ร่วมกับมีเส้นเลือดงอกเข้าไปในกระจกตา (corneal neovascularization) จากการใส่คอนเเทคเลนส์
🚑📌  นักทัศนมาตรจึงได้ทำการส่งต่อพบจักษุแพทย์ด้านกระจกตาเพื่อทำการรักษาต่อไป

👩 เคส 3 นางสาว C อายุ 24 ปี
👁 มาพบนักทัศนมาตรเนื่องจาก แว่นอันเดิมของเขาหัก ต้องการวัดค่าสายตาเพื่อตัดแว่นใหม่ และซื้อคอนเเทคเลนส์ใส่ 
❎️ ไม่มีโรคประจำตัว
🔹️ ตรวจตาเบื้องต้น ( Preliminary test) พบว่ามี ตาเหล่เข้าซ่อนเร้น (Esophoria) ทั้งที่ระยะไกลและระยะใกล้, การมองเห็นภาพสามมิติ ( Stereopsis) ลดลงได้ค่า 160 sec of arc 
🔹️ ซักประวัติเพิ่มเติมพบว่า เขามีปัญหาเวลาขับรถจะกะระยะหน้ารถไม่ค่อยถูก ทำให้ไม่ค่อยได้ขับรถ
🔹️ ตรวจวัดสายตาพบว่า ค่าสายตา 2 ข้างแตกต่างกันมาก ( Anisometropia)
:  สั้น 250 เอียง 100 (-2.50-1.00x88) และ สั้น 75 เอียง 50 (-0.75-0.50x115)
🔹️ ตรวจดูระบบการทำงานของทั้ง 2 ตา (Binocular vision) พบว่ามี ตาเหล่เข้าซ่อนเร้น (Esophoria) ทั้งที่ระยะไกลและระยะใกล้จริง ตรงกับผลการตรวจตาเบื้องต้น
📋📌  จึงได้ตัดแว่นสายตาอันใหม่ร่วมกับให้ฝึกกล้ามเนื้อตา (Vision therapy) และนัดติดตามผลการรักษา

จากเคสตัวอย่างทั้ง 3 เคสที่พี่ๆทุกคนได้อ่านไป เห็นอะไรกันมากขึ้นไหมเอ่ย?
👁 สิ่งที่พวกเขาเหล่านี้มีเหมือนกันคือ “ ปัญหาการมองเห็น ” แต่เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องแล้ว กลับพบว่า “สาเหตุในการเกิดและวิธีแก้ไขปัญหา” แทบจะไม่เหมือนกันเลย
👩‍🦱 นางสาว A มีปัญหาตามัวและเห็นความสว่างลดลง ถึงจะไปตัดแว่นสายตาใส่ อาการกลับไม่ดีขึ้น 
🔹️ เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ด้านประสาทวิทยาแล้วพบว่า เขามี ”โรคทางตา” (เส้นประสาทตาอักเสบ) จึงทำให้เขาตามัวและแก้ไขด้วยการใส่แว่นไม่ได้นั่นเอง 
+++++++++++++++++++++

👩 นางสาว B อาการคล้ายกับนางสาว A คือตามัวมองเห็นไม่ชัด 
🔹️ เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยจากนักทัศนมาตรแล้ว
พบว่า มี “ค่าสายตาและโรคทางตา” (สายตาสั้น, ตาแห้ง, เป็นแผลที่กระจกตาร่วมกับมีเส้นเลือดงอกเข้าไปในกระจกตา) จากการใส่คอนเเทคเลนส์ที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสมมานาน และ ใส่ในขณะที่ตั้งครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 🙅‍♀️  ทำให้เขามองเห็นไม่ชัดมากขึ้นจากเดิมที่มีค่าสายตาอยู่แล้ว
🔹️ จึงได้ส่งต่อเข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์และหยุดการใส่คอนเเทคเลนส์ทันที 
+++++++++++++++++++++

👩 นางสาว C แม้จะดูเหมือนมาตัดแว่นสายตาธรรมดาๆ
🔹️ แต่เมื่อนักทัศนมาตรซักประวัติและตรวจอย่างละเอียดแล้วพบว่า เขามี “ ค่าสายตาและการทำงานร่วมกันของ 2 ตาผิดปกติ “ ( ค่าสายตา 2 ข้างแตกต่างกัน, มองเห็นภาพ 3 มิติลดลง และตาเหล่เข้าซ่อนเร้น) แต่เนื่องจากหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งๆนั้น ทำให้เขาดูไม่มีความผิดปกติอะไร 
🔹️ จึงแก้ไขด้วยการตัดแว่นสายตาร่วมกับให้ฝึกกล้ามเนื้อตาจนการมองเห็นภาพ 3 มิติดีขึ้น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตา ( Negative fusional vergence) มีมากขึ้น 

ทำให้เห็นว่าโลกของการมองเห็นของเราเต็มไปด้วยส่วนประกอบต่างๆอีกมากมายที่เรายังไม่รู้จักและกำลังรอให้พวกเราไปสำรวจอยู่

⭐️ การที่พี่ๆทุกคนมีความรู้และเข้าใจการมองเห็นของตนเองเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากๆเลยจริงไหมคะ ?
✅️ ทำให้เวลาสงสัยว่าจะมีปัญหาการมองเห็นเรารู้ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไปดี
✅️ ยิ่งได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยเฉพาะบุคคลแรกที่เราไปพบ นอกจากจะช่วยปกป้องดวงตาของพี่ๆจากการสูญเสียการมองเห็นได้แล้วยังเป็นการช่วยลดภาระของโรงพยาบาลที่จะได้ดูแลคนที่มีความผิดปกติจริงๆอีกด้วยนะคะ 👏👏
📌 ดังนั้น นอกจากต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องการมองเห็นของพี่ๆทุกคนแล้ว การได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น จากบุคคลแรกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ สามารถตรวจได้อย่างครอบคลุมและแม่นยำ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน
😊 พี่ๆทุกคนเห็นด้วยไหมเอ่ย ?

🙂🙂 พี่โอดีและน้องโอเอสอยากให้เคสตัวอย่างทั้ง 3 เคสที่พี่ๆทุกคนได้อ่านไป เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้ทุกคนหันมาสนใจและดูแลใส่ใจดวงตาให้ดีมากยิ่งขึ้นนะคะ

1. The role of optometry in vision 2020
2. WHO news blindness and visual impairment
3. World report on vision
4. Clinical Management of Binocular Vision: Heterophoric, Accommodative, and Eye Movement Disorders Fourth Edition
5.https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/blindness-and-visual-impairment
และขอขอบคุณเคสตัวอย่างทั้ง 3 เคส เรื่องราวของพวกพี่ๆจะเป็นประโยชน์และช่วยเหลือการมองเห็นของใครอีกหลายๆคนได้อย่างมากเลยค่ะ❤️🧡💛💚💙💜

Comments
* The email will not be published on the website.