02 Sep
🛺 Station 1 : ความแตกต่างระหว่าง 3 อาชีพ (จักษุแพทย์, นักทัศนมาตร, ช่างแว่นตา)

🧑 จักษุแพทย์ ( Ophthalmologist) 
1. เรียนจบหลักสูตร แพทยศาสตร์บัณฑิต (M.D.) ระดับปริญญาตรี
2. ใช้ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี
3. หลังจากเรียนจบแพทยศาสตร์ ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา
4. ศึกษาต่อทางด้านจักษุวิทยา เป็นระยะเวลา 3 ปี
5. ศึกษาต่อด้านจักษุวิทยาเฉพาะทาง อีกเป็นระยะเวลา 1-2 ปี  ( แล้วแต่จักษุแพทย์ว่าจะเลือกเฉพาะทางสาขาไหน)
📌 โดยสาขาเฉพาะทางจะแบ่งได้เป็น 7 สาขาย่อย เช่น สาขากระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา / สาขาต้อหิน / สาขาจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา เป็นต้น 
รวมๆแล้วกว่าจะเป็นจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญ 1 คน ใช้เวลาทั้งหมดเกือบ 10 ปีเลยทีเดียว 😮😮

🧑 นักทัศนมาตรศาสตร์ ( Optometrist)
1. เรียนจบหลักสูตร ทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต ( O.D.) ระดับปริญญาตรี
2. ใช้ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี
3. หลังจากเรียนจบทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต ต้องสอบเพื่อรับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรศาสตร์

🧑 ช่างแว่นตา ( Optician)
1. เรียนจบหลักสูตร อบรมระดับวิชาชีพเทคนิคช่างแว่นตาระยะสั้น
2. ใช้ระยะเวลาฝึกอบรมทั้งหมด 300 ชั่วโมงขึ้นไป
3. หลังจากอบรมเสร็จจะได้รับ ใบประกาศนียบัตรของกระทรวงศึกษาธิการ และ ใบประกาศนียบัตรของสมาคมส่งเสริมวิชาการแว่นตาแห่งประเทศไทย

🧑 จักษุแพทย์ ( Ophthalmologist)
1. ตรวจวินิจฉัย และ รักษาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคตาและการมองเห็น เช่น  ต้อหิน ต้อกระจก เบาหวานขึ้นจอตา  โรคกล้ามเนื้อตาหรือเส้นประสาทตาผิดปกติ และการมีค่าสายตามาก เป็นต้น (ความเชี่ยวชาญจะขึ้นอยู่กับสาขาที่เฉพาะทาง)
2.  การรักษาจะเน้นไปที่การผ่าตัด การใช้รังสี หรือสั่งจ่ายยาหยอดตาเป็นส่วนใหญ่ 

👦 นักทัศนมาตรศาสตร์ ( Optometrist)
1. สามารถตรวจ และ ประเมินปัญหาทางด้านการมองเห็น เช่น ค่าสายตา ( Refractive error)  การทำงานร่วมกันของสองตา (Binocular vision) และ สุขภาพตาเบื้องต้น ( Ocular health) 
2.  หากตรวจพบหรือสงสัยว่าปัญหาการมองเห็นเกิดจากโรคตา หรือมีโรคทางร่างกายที่มีผลต่อดวงตา นักทัศนมาตรจะมีหน้าที่ส่งต่อคนไข้เพื่อเข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์  
3. การรักษาจะเน้นไปที่การจ่ายแว่นตา / คอนเทคเลนส์  / การฝึกกล้ามเนื้อตา ( Vision therapy) จ่ายอุปกรณ์ช่วยในการมองเห็น ( Optical devices) และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตาเบื้องต้น

🧑ช่างแว่นตา ( Optician)
1. มีความเชี่ยวชาญทางด้านการประกอบแว่นตา เช่น การฝนเลนส์เข้ากรอบแว่นตา เป็นต้น
2. ปรับดัดแว่นตาให้มีความเหมาะสมกับโครงสร้าง และ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆบนใบหน้าของคนไข้ที่แตกต่างกัน  เช่น ความสูงของตาดำ / ระยะห่างระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น

✅️ เสร็จสิ้นไปแล้วกับการทำความรู้จักกับเหล่าผู้พิทักษ์แห่งโลกของการมองเห็น (Vision world) 
🎉 ขอแสดงความยินดีกับพี่ๆทุกคนที่ได้รู้จักกับโลกของการมองเห็นกันมากขึ้นไป 1 ขั้นแล้ว
🛺 ในสถานีต่อไปพี่โอดีและน้องโอเอส จะพาพี่ๆทุกคนไปพบกับอะไร รอติดตามกันน้า

1. http://www.chulaophthalmology.org/
2. http://www.thaioptometric.org/about/courses
3. https://www.aao.org/eye-health/tips-prevention/what-is-ophthalmologist?
4. https://www.aao.org/about/policies/differences-education-optometrists-ophthalmologists
5. https://www.theportlandclinic.com/specialties/ophthalmology-eye-services/
6. Primary Care Optometry 5th edition By Theodore Grosvenor
7. หนังสืออนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยนักทัศนมาตร

Comments
* The email will not be published on the website.