🧠 สมองเปรียบเสมือนบริษัทขนาดใหญ่อยู่ในหัวของพวกเรา
🔸️ประกอบไปด้วยพนักงานตัวน้อยอย่างพี่เซลล์ประสาทนับแสนล้านเซลล์ คอยประจำการอยู่ตามพื้นที่ต่างๆของสมอง เพื่อทำหน้าที่ ที่แตกต่างกัน
⚡️พี่เซลล์ประสาทเหล่านี้จะมีการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกัน เพื่อให้สมองควบคุมทุกสิ่งที่พวกเราทำ
สมองคอยควบคุมทุกสิ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็น ความคิด, การตัดสินใจ, การเคลื่อนไหว, การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ, การมองเห็นหน้าคนที่เรารัก, ได้ยินเสียงเพลงที่ไพเราะ, สัมผัสได้ถึงอ้อมกอดที่แสนอบอุ่น, การรู้สึกมีความสุข หรือแม้กระทั่ง ช่วยให้เราหายใจตลอดเวลาที่เราหลับและอื่นๆอีกมากมายที่เกิดขึ้นกับตัวเรา
👶 ในวันที่เจ้าตัวน้อยเกิดมาสมองของเขายังมีขนาดเล็กมาก และพี่เซลล์ประสาทเหล่านี้ยังทำงานเชื่อมต่อกันได้ไม่ดีนัก
🔸️ เจ้าตัวน้อยต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา👀, หู👂, จมูก👃, ลิ้น👅 และการสัมผัส🤝 ในการรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเขา เพื่อให้สมองเกิดการเรียนรู้และพัฒนา
👀 เจ้าตัวน้อยของเราใช้การมองเห็นในการรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากถึง 80% เลยทีเดียว
✨️ แสงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกจะสะท้อนเข้าสู่ตาไปกระตุ้นให้พี่เซลล์รับแสงที่อยู่บริเวณจอตา รับรู้ และ ส่งข้อความไปยังสมองบริเวณด้านหลัง (occipital lobe)
🖼 ทีมพี่เซลล์ประสาทที่อยู่บริเวณนั้นจะทำการอ่านและแปลข้อความออกมาเป็นสิ่งที่เจ้าตัวน้อยเห็น
📨 จากนั้นจะส่งต่อสิ่งที่เจ้าตัวน้อยเห็นไปให้ทีมพี่เซลล์ประสาทที่อยู่บริเวณสมองส่วนอื่นๆอีกมากมาย
📈 ทำให้เจ้าตัวน้อยเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร, สามารถจดจำใบหน้าคนในครอบครัวได้, เห็นหน้าพ่อแม่แล้วยิ้มมีความสุข, พยายามออกเสียงพูดคุยสื่อสารกับคนในครอบครัว หรือ พยายามเอื้อมมือไปจับสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า เป็นต้น
❤️ จะเห็นได้ว่า ดวงตา👀อันกลมสวยที่คอยละลายหัวใจคนเป็นพ่อแม่ เปรียบเสมือนประตูบานยักษ์เปิดกว้างให้เจ้าตัวน้อยก้าวไปสู่การเรียนรู้และเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ในโลกที่แสนกว้างใหญ่
📌 แม้การมองเห็นจะมีความสำคัญต่อพัฒนาการในด้านต่างๆของเจ้าตัวน้อย แต่ #สายตา และ #การมองเห็น ของพวกเขาไม่ได้ดีตั้งแต่เกิด
👶 เจ้าตัวน้อยในวัยแรกเกิด (ที่คลอดครบกำหนด) โครงสร้างดวงตาของเขาค่อนข้างจะสมบูรณ์ แต่ยังมีบางอย่างที่ต้องถูกพัฒนาต่อ เพื่อให้มีการมองเห็นที่ดีและสมบูรณ์มากขึ้น
🔸️ เช่น ความยาวลูกตา, ความโค้งกระจกตา, เลนส์ตา และ จอตา เป็นต้น
📍🧒 ในช่วงขวบปีแรก ถือเป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก พวกเขาจะมีพัฒนาการทางการมองเห็นอย่างรวดเร็ว เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมายภายในตา
🔸️ หลังจากนั้น การมองเห็นจะค่อยๆพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนเจ้าตัวน้อยอายุได้ประมาณ 7-8 ขวบ
🔸️ ขนาดโครงสร้างดวงตาและการมองเห็นของเขาจะใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่
😵💫 ระหว่างที่การมองเห็นของเขากำลังพัฒนา หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น ทำให้เขามองเห็นได้ไม่ดีเท่าที่ควร พัฒนาการทางการมองเห็นเกิดได้ไม่เต็มที่
📉 ประตูบานยักษ์ที่เคยเปิดกว้างจะปิดแคบลง ทำให้พัฒนาการด้านอื่นๆของเขาลดลงไปด้วย
😵 ยิ่งถ้าได้รับการแก้ไขที่ล่าช้าเลยจากช่วงอายุ 7-8 ขวบไป การรักษาจะเริ่มยากขึ้น โอกาสเป็นภาวะตาขี้เกียจมีมากขึ้น หรือ เกิดภาวะสายตาพิการ (visual impairment) ได้เลยหากไม่ได้รับการรักษา
👨👩👦 ดังนั้น ความรู้และการช่างสังเกตของพ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงเป็นเกราะป้องกันชั้นดี ช่วยให้เหล่าตัวน้อยรอดพ้นจากปัญหาต่างๆมากมายที่อาจเกิดขึ้น …
ว่าแต่การมองเห็นที่ปกติของเหล่าตัวน้อยควรเป็นอย่างไรนะ? เลื่อนไปดูภาพถัดไปเลย!! ➡️
โลกของการมองเห็นของเหล่าตัวน้อยยังไม่จบเพียงเท่านี้ อย่าลืมติดตามในเล่มถัดไปนะครับ ❤️
1. Principles and Practice of Pediatric Optometry
By Alfred A. Rosenbloom O.D., M.A. & Meredith W. Morgan, O.D., Ph.D.
2. https://preventblindness.org/wp-content/uploads/2020/04/18_Key_vision_questions.pdf
3. https://www.aao.org/eye-health/tips-prevention/baby-vision-development-first-year
4. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?contenttypeid=85&contentid=P01093
5. https://tamalpaispediatrics.com/Simple-Ways-to-Entertain-and-Boost-Your-Baby%E2%80%99s-Dev-1
6. Pediatric eye screening By รศ. พญ.สุภาภรณ์ เต็งไตรสรณ์ และ พญ.นริสา รัตนเลิศ
7. The Strategies of visual stimulation for children with visual impaired <3 yrs.
By รศ. ดร. ศุภา คงแสงไชย
8. Video : ตากลอกไม่เป็นทิศทาง ( Wandering eye movement) https://www.youtube.com/watch?v=pyHxJuK3P3Y
9. Video : ตาสั่น ( Nystagmus)
https://www.youtube.com/watch?v=phpe_RVGqcA